วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (พร้อมวิดีโอ)


เนื้อหา : 
                การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อาศัยแนวคิดภายใต้พื้นฐานของการบริหารงานที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management - SBM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล้องในตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านการเงิน ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด แนวทางที่จะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นใช้กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังโรงเรียนให้มากขึ้นมีการนำวิธีการบริหารงบประมาณด้วยตนเอง (Self-Budgeting School) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (School-Based Curriculum Development) และการพัฒนาบุคลากรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Student Counseling) เข้ามาใช้
              ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำมาใช้ดำเนินการในครั้งนี้ นำแนวความคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ รวมทั้งแนวคิดและรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร เช่น ไทเลอร์ ทาบา เซย์เลอร์อเล็กซานเดอร์และเลวิสโอลิวา สกิลเบ็กมาร์ช และคณะเอ็กเกิลสตัน วอล์คเกอร์ และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย เช่น กรมวิชาการ และกรมการศึกษานอกโรงเรียน มากำหนดเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
 

                ข้อกฎหมายที่สถานศึกษาต้องไปดำเนินการให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรได้เองภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางเป็นเรื่องที่จะต้องมี การเตรียมการให้พร้อม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 ที่กำหนดให้ “คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และในวรรคสองกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ” ซึ่งจะเห็นได้ว่าจุดหมายในส่วนของหลักสูตรแกนกลางที่จัดทำโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปอย่างกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะได้นำไปจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษานั้นๆ ต่อไป
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.พิจิตรา  ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ผ...