ทฤษฏีหลักสูตรเป็นการศึกษาที่นักพัฒนาหลักสูตรพยายามพัฒนาหลักสูตรเป็น
“ศาสตร์” (Science) มากขึ้น
โดยเน้นถึงความเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และสามารถพิสูจน์หรือทำนายได้
แทนที่จะดำเนินการอย่างไม่มีหลักหรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้แต่อย่างไร
ทฤษฎีหลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ที่ผู้เรียนพึงได้รับ
เพื่อให้พวกเขาได้ลงมือปฏิบัติหรือสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ทฤษฎีหลักสูตรในกลุ่มนี้จึงเน้นไปที่การจัดกิจกรรมและประสบการณ์อันหลากหลายให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างจากทฤษฎีหลักสูตรในยุคแรกเป็นอย่างมาก
ขอบข่ายของทฤษฎีหลักสูตร
1. รากฐานในการวางหลักสูตร
• รากฐานทางด้านจิตวิทยา
• รากฐานทางปรัชญา
• รากฐานทางด้านสังคม
2. หลักการและวิธีการในการวางหลักสูตร
• หลักและวิธีการในการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตร
• หลักในการเลือกวิชาเพื่อบรรจุลงในหลักสูตร
• หลักในการกำหนดลำดับขั้นของเนื้อหาวิชา
• หลักในการแบ่งเวลาการเรียนการสอนของแต่ละวิชา
•
วิธีการในการวางหลักสูตร
ทฤษฏีหลักสูตร
หมายถึง
ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆชี้นำแนวทางการพัฒนาใช้และการประเมินผล
หลักสูตรประกอบกัน แมคเซีย (Maccia ) ได้สร้าง ทฤษฎีหลักสูตรขึ้น 4 ทฤษฏี
1. ทฤษฎีแม่บท ( Formal Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการกฎเกณฑ์ทั่วๆไปตลอดถึงโครงสร้างของหลักสูตร
2. ทฤษฎีเนื้อหา ( Curriculum Reality Theory ) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาและกล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3. ทฤษฎีจุดประสงค์ ( Volitional Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าวัตถุประสงค์นั้นได้มาอย่างไร
4. วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร
1. ทฤษฎีแม่บท ( Formal Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการกฎเกณฑ์ทั่วๆไปตลอดถึงโครงสร้างของหลักสูตร
2. ทฤษฎีเนื้อหา ( Curriculum Reality Theory ) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาและกล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3. ทฤษฎีจุดประสงค์ ( Volitional Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าวัตถุประสงค์นั้นได้มาอย่างไร
4. วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร
ในการสร้างทฤษฎีหลักสูตร เคอร์ (Kerr) กล่าวว่ามีวิธีการสร้างอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีอนุมาน ( Deductive Approach )และวิธีอุปมาน
1. วิธีอนุมาน เป็นวิธีที่อาศัยความรู้จากศาสตร์อื่นมารวมกันเพื่อสร้างทฤษฎีขึ้นใช้วิธีการนำเอาสิ่งกับสมมติฐานและกฎเกณฑ์ในศาสตร์อื่นมา แล้วนำเอาศัพท์ทางการศึกษาใช้แทนลงไป เช่น ทฤษฎีแมคเซีย เป็นต้น
2. วิธีอุปมาน เป็นการรวมเอาทฤษฎีนี้บ้างมาผสมกันอาศัยข้อมูลที่สังเกตได้เป็นเครื่องชี้นำต่อไปก็ตั้งสมมติฐานและกฎเกณฑ์ที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรขึ้น
ความหมายต่างๆของหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อและทฤษฎีต่างๆทางการศึกษา ซึ่งมีนักการศึกษาได้กำหนดไว้หลายแนวดังนี้
1. หลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม ( Perennialism ) และสาระนิยม
( Essentialism ) ตลอดจนผู้ที่ถือว่าการศึกษาคือการฝึกวินัยทางจิต ( Mental Discipline ) ซึ่งเห็นว่าหลักสูตรในโรงเรียนควรประกอบด้วยวิชาที่สำคัญที่จะธำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะแห่งความเป็นมนุษย์และเป็นการฝึกสมองเช่น วิชาที่ยากๆโดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างของวิชาต่างๆ ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจนเช่น โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์เป็นตรรกศาสตร์โดยเฉพาะการหาเหตุผลแบบอนุมาน ข้อสังเกตสำหรับการกำหนดหลักสูตรในแนวนี้คือ ไม่ได้ให้ความสนใจและความสำคัญในผู้เรียน (ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร)
2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม (Progressivism) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมคือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพของสังคมให้ดีขึ้น จึงยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนจะพึ่งได้รับภายใต้การนำของครู
3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตรไปใช้ในด้านการปฏิบัติคือ การสอนและการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามทำหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเช่น เขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรม ดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2521
แหล่งที่มา: http://curriculum-by-sunsanee.blogspot.com/2013/03/curriculum-theory.html
http://gamoback.blogspot.com/2010/08/4.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น