การศึกษาทำหน้าที่สำคัญคือ
อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ
โดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปในทิศทางที่พึงปรารถนา
เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่จะนำไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก
และโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น
การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
จึงจะทำให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน
สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการสังคมได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการใหม่
ผลการวิเคราะห์ออกมาอย่างไรหลักสูตรก็จะเปลี่ยนจุดหมายไปในแนวนั้น
สามารถจำแนกข้อมูลให้ชัดเจนได้ดังนี้
1.1 โครงสร้างของสังคม โครงสร้างไทยแบ่งออกเป็น
2 ลักษณะ
คือ ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
และสังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม
ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก
สังคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นแต่ถึงอย่างไรก็ตามสังคมส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังมีสภาพเป็นสังคมเกษตรกรรมอยู่
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นจะต้องศึกษาโครงสร้างของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
และแนวโน้มโครงสร้างในอนาคตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาจัดหลักสูตรว่า
จะจัดหลักสูตรอย่างไรเพื่อยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมตามความจำเป็น
1.2 ค่านิยมในสังคม ค่านิยม หมายถึง
สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆ
เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม
ค่านิยมชนิดไหนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงดำรงไว้หรือค่านิยมชนิดไหนควรสร้างขึ้นมาใหม่
เช่น ค่านิยมของสังคมไทยเกี่ยวกับความเฉื่อยชา การถือความสัมพันธ์ส่วนตัว
การถือประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
1.3 ธรรมชาติของคนไทยในสังคม
ธรรมชาติของคนไทยในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมนั้นๆ
ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพดังต่อไปนี้
1.
ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการและเหตุผล
2. ยกย่องบุคคลที่มีความรู้หรือได้รับการศึกษาสูง
3. เคารพและคล้อยตามผู้ได้รับวัยวุฒิสูง
4. ยกย่องผู้มีเงินและผู้มีอำนาจ
5. นิยมการเล่นพรรคเล่นพวก
6. มีลักษณะเฉื่อยชาไม่กระตือรือร้น
ในการพัฒนาหลักสูตร ควรคำนึกถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกของคนในสังคม
โดยพิจารณาว่าลักษณะใดควรไม่ควร เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต
1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา
เช่น การตั้งรับตามการเปลี่ยนต่างๆ เช่น กระแสการเจริญเติบโตของประเทศทางตะวันตก
กระแสวิชาการตะวันตก ความต้องการและปัญหาสังคม จึงทำให้การศึกษาเป็นตัวตาม
ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้ต้องวางเป้าหมายให้ดี
นักพัฒนาหลักสูตรจึงควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเครื่องชี้นำสังคมในอนาคต เช่น
แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การศึกษาไทยจะได้มีบทบาททางสังคมอย่างแท้จริง
1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง การเตรียมพัฒนาทรัพยากรให้มีคุณภาพมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นเรื่องไม่คงที่
เรื่องของประเทศจะส่งผลกระทบการศึกษามีมากมายเช่น การเมือง เศรษฐกิจ
ความก้าวหน้าทางวิชาการทั้งนี้ในต่างประเทศจึงตั้งคุณลักษณะของสังคมเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร
และคุณลักษณะของประชากรที่มีคุณภาพมีดังนี้
1. มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
2. มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว
3. เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
4. มีสติปัญญา
5. มีนิสัยรักการทำงาน
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรก็คือ
จะต้องพิจารณาว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไร รูปแบบใดจึงจะทำให้ประชากรมีคุณภาพดี
1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่จะแสดงให้ทราบว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนในสังคมเดียวกันหรือเป็นคนชาติเดียวกัน
ดังนั้น
ศาสนาและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาหลักสูตร
ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์สำคัญของหลักสูตรก็คือ
การทะนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามไว้
การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึกถึงศาสนาและวัฒนธรรมความรู้หลักธรรมศาสนาต่างๆ
นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา
เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ควรจะเป็นหลักธรรมของศาสนาต่างๆ
ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นหลักสูตรที่ต้องตอบสนองสังคมและพัฒนาไปพร้อมกัน
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรอบคอบจะทำให้เราสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรที่ดีตามลักษณะดังต่อไปนี้
1. ตอบสนองความต้องการของสังคม
2. สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม
3. เน้นในเรื่องรักชาติรักประชาชน
4. แก้ปัญหาให้กับสังคมมิใช่สร้างปัญหากับสังคม
5. ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น
6. สร้างความสำนึกในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
7. ชี้นำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงประเพณีและค่านิยม
8. ต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม
9. ปลูกฝังในเรื่องความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ในสังคม
10. ให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ในสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น