หลักสูตร
หลักสูตรคืออะไร ?
ความหมายของคำว่าหลักสูตร
- คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า
“curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า
“currere” หมายถึง“running course” หรือ
เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาได้นำศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า
“running sequence of course or learning experience” (Armstrong, 1989 : 2) เป็นการเปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชา
หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่าหลักสูตรหลายท่าน ยกตัวอย่างเช่นใส่ข้อความที่นี่
- ไทเลอร์ (Tyler.
1949: 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด
โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
- โอลิวา (Oliva.2009: 3) ได้ศึกษาความหมายของหลักสูตร
พบว่า การให้ความหมายหลักสูตรขึ้นอยู่กับลักษณะความเชื่อ
หรือปรัชญาของแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้
1.) หลักสูตร คือ
สิ่งทีสอนในสถานศึกษา
2.) หลักสูตร คือ
เนื้อหาวิชา
3.) หลักสูตร คือ
โปรแกรมสำหรับการเรียน
4.) หลักสูตร คือ
กลุ่มของวัสดุอุปกรณ์
5.) หลักสูตร คือ
กลุ่มวิชา
6.) หลักสูตร คือ
ลำดับของรายวิชา
7.) หลักสูตร คือ
กลุ่มการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์
8.) หลักสูตร คือ
รายวิชาที่จะศึกษา
9.) หลักสูตร คือ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำเนินการภายในสถานศึกษาและกิจกรรมนอกชั้น เรียน การแนะแนว
รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง
10.) หลักสูตร คือ
สิ่งที่สอนทั้งในและนอกสถานศึกษาโดยการดูแลจากสถานศึกษา
11.) หลักสูตร คือ
ทุกสิ่งที่ได้วางแผนจากบุคลากรในสถานศึกษา
12.) หลักสูตร คือ
ลำดับขั้นตอนของประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียน
13.) หลักสูตร คือ
ผลของประสบการณ์ที่ผู้เรียนแต่ละคนได้รับมาจากสถานศึกษา
- วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ
มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล
มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
- กู๊ด (Good. 1973: 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้
คือ1. หลักสูตร หมายถึง
เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง 2. หลักสูตร
หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน
ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง
กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
- เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส
(Salor,
Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม
หลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ
การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล
ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
- สงัด อุทรานันท์ (2538: 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
1.) หลักสูตร คือ
สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา
ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว
2.) หลักสูตร
ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ
3.)หลักสูตร
เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4.) หลักสูตร
ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้
และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน
- สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม
“หลักสูตร” ตามทฤษฏี
และการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.) หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.) หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.) หลักสูตรเป็นกระบวนการ
4.) หลักสูตรเป็น Praxis
หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
- ปริ้น (Print.M., 1993:9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว
สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
1.) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2.) สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/โปรแกรมการศึกษา
3.)การนำเสนอในรูปเอกสา
4.)รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
- สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 1) กล่าวว่า วิชา
"การพัฒนาหลักสูตร" คือ
รายวิชาและเนื้อหาที่ใช้ในการสอนระดับอุดมศึกษา
โดยเฉพาะสถาบันที่ทำหน้าที่ในการผลิตครูจากคำว่า "การพัฒนาหลักสูตร"
เราจะเห็นถึงคำสำคัญอยู่คำหนึ่งนั้นคือคำว่า
"หลักสูตร" ซึ่งผู้เขียนสามารถสรุปความหมายของคำว่าหลักสูตรได้ดังนี้
-หลักสูตร คือ
กิจกรรมในการเรียนการสอนที่พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
- สุเทพอ่วมเจริญ(2557:10)ได้กล่าวไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตรหมายถึงกระบวนการสร้าง
และทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
-จากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต
(product approach)ซึ่งได้แก่ Tyler (1949), Taba
(1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
(desirable result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ
พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม
- เนตรชนก ฤกษ์หร่าย
(2552,น.45-46) กล่าวไว้ว่า
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นหรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมชุมชนท้องถิ่นมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้เรียนพัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้
ความคิด สติปัญญา รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
- เมทินี จำปาแก้ว (2550,น.10) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้ว
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยการนำหลักสูตรเดิมมาปรับ
โดยการจัดการเรียนการสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากขึ้น
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
-การวางแผนจัดทำหรือยกร่างหลักสูตร
-การใช้หลักสูตร
-การประเมินผลหลักสูตร
- สมนึก ทองเพ็ชร (2552,น.8) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อให้เหมาะสมสอดคลองกับความต้องการของผู้เรียน
ทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม ให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้
- อรอนงค์ บุญแผน (2552,น.10) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งการที่พัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีนั้นจะต้องมีการใช้จริงแล้วผ่านกระบวนการประเมินหลักสูตรแล้วเห็นสมควรแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุง
บางครั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่อาจจะดีอยู่แล้วแต่ต้องการพัฒนาเพื่อไม่ให้หลักสูตรล้าหลัง
ความสำคัญของหลักสูตร
- ธำรง บัวศรี ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้โดยสรุปว่า
หลักสูตรมีความสำคัญต่อการศึกษาส่วนร่วม
นั่นคือหลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้าประสงค์ของ
การศึกษาของชาติไปแปลงเป็นการกระทำขั้นพื้นฐานในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
ถ้าจะกล่าวว่าหลักสูตรคือหัวใจทางการศึกษาก็คงไม่ผิด
เพราะถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้วการศึกษาก็ย่อมดำเนินไม่ได้
และหลักสูตรยังมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ถ้าหากไม่มีหลักสูตร
ก็สอนไม่ได้เพราะไม่รู้จะสอนอะไร หรือถ้าจะสอนโดยคิดเอาเองก็จะเกิดความสับสน
โดยที่อาจสอนซ้ำไปซ้ำมา ไม่เรียงลำดับตามที่ควรจะเป็น
ผลการเรียนรู้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
ผู้เรียนเองก็จะมีความลำบากใจเพราไม่ทราบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้นสามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับระดับใด
- พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว (2540
: 18-19) กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไวดังนี้
1.) หลักสูตรย่อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของครู
2.)หลักสูตรย่อมเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
3.)หลักสูตรย่อมกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่าเด็กควรได้รับสิ่งใดบ้างที่เป็นประโยชน์แก่เด็กโยตรงและแก่สังคม
4.)หลักสูตรย่อมกำหนดว่าเนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างราบรื่นเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
5.)หลักสูตรย่อมกำหนดวิธีการดำเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วยความราบรื่น
และผาสุก
6.) หลักสูตรย่อมกำหนดแนวทางความรู้
ความสามรถ ความประพฤติ ทักษะและเจตคติ
ในอันที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศจากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า
หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการศึกษา 3 ระดับ คือ
-1. ระดับประเทศ
เป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยภาพและเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มสังคมกับการจัดการศึกษาในอนาคต
-2.ระดับสถานศึกษา
ซึ่งนับได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจและจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้นๆ
-3.ระดับห้องเรียนซึ่งมีความสำคัญต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ
เพื่อจัดการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนโดยตรง โดยมีรายละเอียดและเอกสารประกอบที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร
เรื่องใด เพื่ออะไร
- สามารถสรุปได้ว่าหลักสูตรมีความสำคัญดังนี้
- ไทเลอร์ (Tyler. 1949: 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
- โอลิวา (Oliva.2009: 3) ได้ศึกษาความหมายของหลักสูตร พบว่า การให้ความหมายหลักสูตรขึ้นอยู่กับลักษณะความเชื่อ หรือปรัชญาของแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้
- วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
- กู๊ด (Good. 1973: 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง 2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป 3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
- เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor, Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม หลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
- สงัด อุทรานันท์ (2538: 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
- สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏี และการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
- ปริ้น (Print.M., 1993:9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
1.) หลักสูตรย่อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของครู
-1. ระดับประเทศ เป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยภาพและเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มสังคมกับการจัดการศึกษาในอนาคต
-2.ระดับสถานศึกษา ซึ่งนับได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจและจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้นๆ
-3.ระดับห้องเรียนซึ่งมีความสำคัญต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อจัดการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนโดยตรง โดยมีรายละเอียดและเอกสารประกอบที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร เรื่องใด เพื่ออะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น