การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้
ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรได้เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่างๆ
1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท
(Nationai level) เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน
เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้
หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา
2.
หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการบรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
หลักสูตรระดับท้องถิ่น (Local level) เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
3.
หลักสูตรระดับห้องเรียน (Classroom level) สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้
ผู้สอนส่วนมากมักเข้าใจผิดมักคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วผู้สอนนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กำหนดไว้
ผู้สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆ ก็จะทำให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นทั้งระบบ คือ
รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่องวิชานั้นๆ
ว่ามีความหมายความจำเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทำไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน
สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล
เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป
การวางแผนจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อน
และดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิม
ต้องคำนึงถึงการดำเนินงานวิธีการต่างๆ
รวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆ
และต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของผู้เรียนด้วย
ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านทางด้านหลักสูตรทุกๆ
ด้าน
ระดับประถมศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน
และสังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก
เขียนได้คำนวณได้ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต
ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทำความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว
ย่อมรู้จักรักทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข
และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดโยชน์คุ้มค่า
วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว
รักการอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
รักการทำงาน และทำงานเป็น รู้เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้าน
สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหาความรู้
กำแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการต่างๆ
รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม
เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่างๆ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียนสามารถเสนอแนะทางเลือกอย่างหลากหลายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้
ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
รักการทำงานและรู้กระบวนการจัดการ เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงสังคมในชุมชน
สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีในชุมชน
สิ่งแวดล้อมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคุณค่าตนเอง
วัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนเกิดความรู้สึกรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน
มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ
วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นตามแนวทางประชาธิปไตย
การที่จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความชำนาญ
และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการช่วยผู้สอนให้คำปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้
ซึ่งจะช่วยผู้สอนในการพัฒนาหลักสูตรในการนำหลักสูตรไปใช้โดยเป็นไปอย่างมีเหตุผล
การพัฒนาหลักสูตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีวิทยาการต่างๆ
ของสังคมและของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ปรัชญา และแนวทางการพัฒนาการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น